แชร์

รู้เรื่อง "เหล็ก"

อัพเดทล่าสุด: 21 ส.ค. 2024
37 ผู้เข้าชม
รู้เรื่อง "เหล็ก"

เหล็กเส้น ถือเป็นเหล็กพื้นฐานที่จำเป็นในงานก่อสร้างทุกรูปแบบ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากๆ ในโครงสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เสา คาน พื้น รวมไปถึงงานผนังก่ออิฐ เป็นต้น ทั้งนี้การเลือกเหล็กเส้นไปใช้งานจำเป็นต้องรู้จักกับเหล็กเส้นเสียก่อน เนื่องจากการนำไปใช้งานในส่วนต่างๆ นั้น จำเป็นต้องมีความรอบคอบในการใช้งาน และใช้งานได้อย่างเหมาะสม

เหล็กเส้น คืออะไร
เหล็กเส้น คือ เหล็กเสริมที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างบ้านเรือน อาคาร คอนโด หรือสำหรับเสริมงานคอนกรีต งานถนน งานสะพานต่างระดับที่ต้องใช้เหล็กเส้นใหญ่ๆ พวกเหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กเส้นเบา หรือเหล็กเส้นเต็มจะใช้งานต่างกันไป และขึ้นอยู่กับความจำเป็นของเนื้องานที่จะใช้ หรือว่าเจ้าของต้องการให้งานคงอยู่กี่ปีเท่านั้นเอง

เหล็กเส้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


เหล็กเส้นกลม (Round Bar)


เหล็กเส้นกลม (Round Bar) หรือเรียกกันอีกอย่างว่าเหล็ก RB มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 2400 ksc.(กก./ตร.ซม.) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดต่างๆ เช่น RB6 (หมายถึง Round Bar ขนาด ศก.6 มม.), RB9, RB12, RB15, RB19, RB25 เนื่องจากผิวเหล็กที่มีลักษณะกลมเรียบจึงทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีตไม่ดีจึงต้องมีการงอขอเพื่อที่จะสามารถถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนมากจะนิยมนำไปใช้สำหรับเป็นเหล็กเสริมในงานโครงสร้างต่าง ๆ อย่างเช่น ปลอกเสา ปลอกคาน ตะแกรงเหล็กสำหรับงานพื้น หรืองานก่อสร้างขนาดเล็ก เป็นต้น

เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar)


เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า DB จะมีลักษณะผิวมีบั้ง หรือปล้องอยู่ตลอดทั้งเส้น ทำให้ยึดเกาะกับปูนได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลม โดยจะนิยมนำไปใช้กับงานก่อสร้างขนาดกลางขึ้นไป ซึ่งเหล็กเส้นข้ออ้อยจะมีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากอยู่ที่ประมาณ 3000, 4000, 5000 ksc. หรือชั้นคุณภาพ SD30, SD40, SD50 ตามลำดับ ซึ่งเหมาะสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องการความแข็งแรงสูง งานก่อสร้างอาคารสูง คอนโดมิเนียม ถนน สะพาน หรือบ้านพักที่อยู่อาศัย เป็นต้น ส่วนการเลือกชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นข้ออ้อยจะขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างที่จะนำไปใช้งานเป็นสำคัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง
เครื่องดัดเหล็กเส้น GW65
เครื่องดัดเหล็กเส้นดัดได้ถึง 50 มม. รุ่นนี้สามารถดัดได้หลายทิศทางจากการป้อนข้อมูลผ่านหน้าจอ
7 ต.ค. 2024
เครื่องม้วนเหล็ก
เครื่องม้วนเหล็กขนาดเล็ก ประหยัดเวลาและประหยัดพื้นที่ พร้อมราคาถูก
30 ก.ย. 2024
เครื่องเหยียดเหล็ก ดึงลวดให้ตรง โดยระบบRoller
วันนี้มีการทดสอบ ก่อนส่งมอบ เครื่องเหยียดเหล็กให้ตรง โดยใช้ระบบ roller ข้อดีคือลวดจะไม่เป็นรอยความเร็วมากกว่า 150เมตรต่อนาที
29 ส.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy